ความเป็นมาของจัดการความรู้

Information

สารสนเทศกระจัดกระจาย และการจัดเก็บอยู่ในแหล่งเก็บที่หลากหลาย ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ มีข้อมูลมากมาย แต่ความรู้มีน้อย ในยามที่ต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ การรวบรวมข้อมูลทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและไม่ครบถ้วน อีกทั้งใช้เวลาในการค้นหานาน การจัดการความรู้อย่างมีระบบจะช่วยให้ปัญหาดังกล่าวบรรเทาลง หรือหมดไป ยิ่งไปกว่านั้นการก้าวเข้าสู่สังคมภูมิปัญญาและความรอบรู้ เป็นแรงผลักดันทำให้องค์กรต้องการพัฒนาไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Enterprise) เพื่อสร้างคุณค่าจากภูมิปัญญาและความรอบรู้ที่มีอยู่เปลี่ยนสินทรัพย์ทางปัญญาให้เป็นทุน ด้วยการจัดการความรอบรู้ และภูมิปัญญาซึ่งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นแบบผู้ปฏิบัติที่มีความรู้ (Knowledge Worker) ด้วย (ยืน ภู่วรวรรณ, 2546)

ขั้นแรกที่จะนำไปสู่การจัดการความรู้ คือ การจัดเก็บข้อมูลไว้ในคลังข้อมูล (Data warehouse) ที่มีการวิเคราะห์ประมวลผล คัดกรองข้อมูล (Data Mining) เพื่อให้ได้ความรู้ที่น่าสนใจ ได้แก่ กฎ ระบบหรือลักษณะที่เกิดขึ้นประจำ รูปแบบ ความแปลกแยก หรือสิ่งผิดปกติจากข้อมูลที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในการแข่งขันทางด้านธุรกิจนำการจัดการความรู้เข้ามาใช้ โดยมีเหตุผลดังนี้  

  • บริษัทต่าง ๆ กลายเป็นองค์กรแห่งความรู้ มีการใช้ความรู้ในการทำงานมากขึ้นรวมถึงการแข่งขันทางด้านธุรกิจ
  • การเปลี่ยนแปลงของตลาดการแข่งขันทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรพัฒนาการบริหารจัดการภายในองค์กร
  • การจัดการความรู้ทำให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
  • ความรู้ทำให้องค์กรอยู่รอด
  • ความซับซ้อนขององค์กรในปัจจุบันจึงต้องมีการจัดการความรู้
  • ความรู้ช่วยในการตัดสินใจ
  • ความต้องการในการใช้ความรู้ร่วมกัน
  • ความรู้เฉพาะบุคคลเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับองค์กร
  • การเติบโตของบริษัทและธุรกิจ

Control Plus Consulting Co., Ltd.
29 Soi Ekachai 69/2 Bang Bon District, Bangkok, Thailand 10150
Tel: +66-2899-5140 Fax: +66-2899-5140

Share This

Share This

Share this post with your friends!

ข้ามไปยังทูลบาร์